วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556

Happy new year 2013


ee_clipart_flash_banners__gif_animated_gifs_animation_flash_colors_stars_merry_christmas_free_images_ecards_photographic_arts_free_download_websites_blogs_.gif

สวัสดี ปีใหม่ พาสุขสันต์.....



ทุกคืนวัน มีสุข ไร้ทุกข์ผอง....



ปีเก่า ผ่านพ้นไป ต่างหมายปอง.....



ความปรองดอง พบสุข นิราศภัย.....



ขอให้ทุกๆ ท่านมีความสุข สดชื่น สมหวัง...ตลอดปี... ตลอดไป





วันขึ้นปีใหม่ 2556

วันปีใหม่ (อังกฤษ: new year) มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือน ก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี

ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า ปีอธิกสุรทิน จำหน่ายของขวัญปีใหม่ ของที่ระลึก

เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน

สวัสดีปีใหม่ 2556

และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันวสันตวิษุวัติ (Equinox in March)

แต่ในปี พ.ศ. 2125 วันวสันตวิษุวัติ กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรโกเรียน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา




วันขึ้นปีใหม่

ภาพ:ปีใหม่3.gif

 ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่

        ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า “ปี” ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ

ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่

ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ
  • ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม
  • ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
        การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทาง สุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็ระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก
        การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์
        ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
        เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน มาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็เพราะ
  1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
  2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
  3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
  4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่

ภาพ:ตักบาตร.gif
  1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญ ชวนไปร่วมทำบุญ
  2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
  3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น

 กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่

        เมื่อใกล้ถึงเทศกาลปีใหม่ ประชาชนจะพากันเก็บกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับไฟและธงชาติตามสถานที่สำคัญๆ
        ครั้นถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ก็จะมีการทำบุญเลี้ยงพระ ไปวัดเพื่อประกอบกิจกุศลต่างๆ เช่น ฟังพระธรรมเทศนา ถือศีลปฏิบัติธรรม แต่บางคนก็แค่ทำบุญตักบาตร ตอนกลางคืนบางแห่งอาจจัดเทศกาลกินเลี้ยงเป็นที่ครื้นเครงสนุกสนาน เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
        วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขวัญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป กลางคืนมีการละเล่นพื้นบ้าน หรือจัดมหรสพมาฉลอง

เพลงวันปีใหม่ (เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)

ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย
ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ

เกี่ยวกับ เพลงพรปีใหม่

         เพลงพระราชนิพนธ์ พรปีใหม่ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 เมื่อเสด็จนิวัตพระนคร และประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่ แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง "พรปีใหม่" และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495


วัฒนธรรมประเพณีในการอวยพรวันปีใหม่เพื่อส่งเสริมความเป็นไทย





วันขึ้นปีใหม่ไทย ประเพณีปีใหม่ของไทย การอวยพรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ นิยมปฏิบัติกันแพร่หลาย ด้วยการใช้บัตรอวยพร หรือ นิยมใช้สิ่งของ นำไปมอบให้ผู้ที่เคารพนับถือ ตลอดจนญาติสนิทมิตรสหายรวมทั้งผู้บังคับบัญชาในที่ทำงานเป็นเครื่องแสดงถึงการระลึกถึงคุณความดีและไมตรีจิตมิตรภาพ เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่



 วันขึ้นปีใหม่ 2013

ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณโปรดเกล้าฯให้ใช้พุทธศักราช แทน รัตนโกสินทรศก ตั้งแต่ พ.ศ. 2455 และต่อมาใน พ.ศ. 2456 โปรดให้รวมพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์เถลิงศกสงกรานต์ พระราชพิธีศรีสัจจปานกาลถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเข้าด้วยกันเรียกว่า พระราชพิธีตรุษสงกรานต์

ในสมัยรัชกาลที่ 8 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล ได้ประกาศให้ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็น วันขึ้นปีใหม่ เพราะวันที่ 1 มกราคม ใกล้เคียงวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นการใช้ฤดูหนาวเริ่มต้นปีและเป็นการสอดคล้องตามจารีตประเพณีไทยโบราณต้องตามคติแห่งพระบวรพุทธศาสนาและตรงกับนานาประเทศ โดยให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58 หน้า 31 เป็นต้นไป

ประเพณีการอวยพร

ประเพณีไทยสมัยโบราณ การที่จะอวยพรหรือกล่าวคำที่เป็นมงคลให้กับผู้ใด เราชอบเอ่ยด้วยวาจาและเป็นการกล่าวต่อหน้าผู้รับ ไม่มีการส่งความสุขหรือคำอวยพรด้วยการใช้บัตร ส.ค.ส. เหมือนดังทุกวันนี้ ส.ค.ส. เข้าใจว่าเริ่มเข้ามาในเมืองไทยในราวสมัยรัชกาลที่ ๗ ในชั้นแรกคงจะใช้กันในวงแคบๆ ส่วนมากเป็นขุนนางหรือเจ้านาย 

การมอบของขวัญควรทำด้วยความเคารพนอบน้อมพร้อมทั้งกล่าวอวยพรดังข้อความข้างต้น ตามธรรมดาญาติผู้ใหญ่เป็นผู้ให้พรแก่ลูกหลานหรือผู้อาวุโสน้อยกว่า เมื่อลูกหลานจะอวยพรญาติผู้ใหญ่ที่เคารพจำเป็นต้องขออนุญาติคุณพระศรีรัตนตรัยดังกล่าวข้างต้นมาอวยพรแทน ซึ่งเป็นประเพณีของคนไทยมาแต่โบราณ เมื่อลูกหลาน หรือผู้อ่อนอาวุโสกล่าวคำอวยพรและมอบของขวัญแล้ว ผู้ใหญ่จะให้พรตอบ และมอบของขวัญที่เตรียมไว้เพื่อเป็นการตอบแทนที่เขาเหล่านั้นได้สละเวลามีค่ามาอวยพร เมื่อการอวยพรดำเนินไปเรียบร้อยแล้ว อาจใช้เวลาสำหรับพูดคุยกันตามความสนิทสนมคุ้นเคย ในการที่มีผู้ไปอวยพรกันอย่างคับคั่ง ผุ้ไปร่วมอวยพรมิควรใช้เวลาพูดคุยนานเกินไป ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้เจ้าของบ้าน หรือผู้อวยพรต่อไป

 วันขึ้นปีใหม่ 2013

ประเพณีนิยมของคนไทย ในวันปีใหม่ คือ การมอบของขวัญ หรือบัตรอวยพรหรือที่นิยมเรียกกันว่า ส.ค.ส ให้แก่กันและกัน ไม่ว่าจะเป็นญาติ พี่น้อง เพื่อนฝูง ผู้บังคับบัญชา และผู้ที่เคารพนับถือ เพื่อแสดงความคารวะ ความระลึกถึง ซึ่งกันและกัน ประเพณีดังกล่าวนับเป็นประเพณีไทยที่ดีงามอย่างหนึ่งของไทยเราในการแสดงน้ำใจไมตรี และความเอื้ออาทรต่อผู้ที่ระลึกถึง แต่ด้วยสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบัน คนไทยควรจะตระหนักว่าหากได้มีการร่วมมือกันในการประหยัดเงินตราของประเทศ ด้วยการไม่ใช้จ่าย ซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย ใช้ของที่ผลิตในประเทศ เพื่อให้เศรษฐกิจหมุนเวียน ร่วมกันส่งเสริมสินค้าไทย ย่อมจะเกิดผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ดังนั้นเพื่อเป็นการธำรงไว้ซึ่งประเพณีนิยม ในการมอบของขวัญ หรือบัตรอวยพรให้แก่กันและกัน และเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจปัจจุบัน

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ขอเชิญชวนให้คนไทยหันมานิยมใช้ของไทยมอบเป็นของขวัญในโอกาสต่างๆ อาจเป็น บัตรอวยพร ผ้าไทย ผลไม้ไทย ขนมไทย อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง เสื้อผ้าไทย เครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์พื้นบ้านแบบไทยจากกลุ่มแม่บ้าน เกษตรกร สหกรณ์ฯลฯ ซึ่งมีให้เลือกหลากหลาย ราคาไม่แพงมากนักแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมสินค้าไทยให้มีตลาดกว้างขวาง เงินทองไม่ไหลเวียนออกนอกประเทศ เป็นการกระจายรายได้และเสริมทุนให้สินค้าไทยสามารถพัฒนาศักยภาพไปสู่ความเป็นสินค้าสากลส่งไปจำหน่ายได้มากขึ้นในอนาคต
กิจกรรมวันขึ้นปีใหม่นอกจากประเพณีการอวยพรวันปีใหม่แล้ว ยังมีกิจกรรมต่างๆที่จัดให้มีขึ้นดังต่อไปนี้

1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆ ที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. ไปวัดเพื่อทำบุญ ถือศีล ปฏิบัติธรรม หรือฟังพระธรรมเทศนาฯลฯ เพื่อให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสเบิกบาน
3. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
4. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ

วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
T091211_13C.gif


















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น